Fan Cyclone

งานรื้อและติดตั้งพัดลมหัวไซโคลน

IMG_8986
IMG_8987

ไซโคลนทำหน้าที่แยกฝุ่นหนักออกจากลมที่เป่าด้วยพัดลมแรงดันสูง (High Pressure Fan) ผ่าน Sand Cooler เพื่อลดอุณหภูมิของทรายดำที่ใช้เป็นแบบทรายหล่อเหล็ก เนื่องจากไซโคลนมีแรงเสียดทานสูญเสียสูง ทำให้แรงดันสถิตย์ของพัดลมดูดฝุ่นด้านหลัง dust collector ไม่เพียงพอ จึงต้องติดตั้งพัดลมเพิ่มแรงดัน หรือ Booster Fan ที่ด้านบนของไซโคลน เพื่อช่วยส่งฝุ่นเข้าสู่ระบบท่อดูดของเครื่องกำจัดฝุ่น หรือ bag filter

ใบพัดลมของเดิมที่สึกหรอ
IMG_6605
IMG_6606

จากรูป จะเห็นได้ว่าใบพัดลมถูกฝุ่นเสียดสีจนสึกหรอไปมาก อีกทั้งพัดลมเดิมไม่สามารถหา Specification ได้ รู้แต่เพียงใช้มอเตอร์ขนาด 15 kW 4 poles เท่านั้น ในการเลือกขนาดพัดลมนั้น เราจำเป็นต้องทราบค่าตัวแปรอย่างน้อย 2 ตัว คือ ปริมาณลม (air volume flow rate) และ แรงดันสถิตย์ (static pressure) จากการวัดความเร็วลมที่ท่อทางเข้าและทางออกของไซโคลน โดยใช้ Pitot Tube เมื่อทราบขนาดท่อ เราก็สามารถคำนวณหาปริมาณลมได้

IMG_6611

จากรูป ความเร็วลมในท่อทางเข้า 14.1 เมตร/วินาที แรงดันสถิตย์ 99 pascal และความเร็วลมในท่อทางออก 20.3 เมตร/วินาที แรงดันสถิตย์ 160 pascal ขนาดท่อทางเข้าและทางออก diameter 400 mm เท่ากัน

Q cal

จะเห็นได้ว่าปริมาณลมดูดที่ท่อทางเข้าไม่เท่ากับท่อทางออก แสดงว่ามีลมรั่วจากจุดอื่นผ่านเข้ามาในไซโคลน เมื่อทำการตรวจสอบจึงพบว่าอุปกรณ์ถ่ายฝุ่นใต้ไซโคลน หรือ Double Flap ถูกเปิดค้างไว้ตลอดเวลา ดังรูปด้านล่าง ดังนั้น จึงต้องเลือกขนาดพัดลมโดยใช้ค่าปริมาณลมที่ท่อทางออก ส่วนแรงดันสถิตย์ให้เอาค่าแรงดันสถิตย์ที่ท่อทางเข้าบวกกับท่อทางออกได้เท่ากับ 259 pascal

IMG_8509
IMG_8512
fan curve MB

พัดลมตัวใหม่ จะมีปริมาณลม 3.73 m3/s แรงดันสถิตย์ 1,370 pascal มอเตอร์ 11 kW 4 poles จะเห็นได้ว่าพัดลมตัวใหม่จะมีประสิทธิภาพสูงกว่าพัดลมตัวเดิม และใช้ขนาดมอเตอร์ที่เล็กลงด้วย ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากพัดลมตัวเดิมออกแบบไม่ได้ตามมาตรฐาน AMCA